วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



พิลาทิสได้เข้ามาเป็นวิถีหนึ่งของผู้ฝักใฝ่การออกกำลังบริหารร่างกายในบ้านเรา และค่อยเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ จะเห็นจากตามสถานออกกำลังกายหลายแห่งเพิ่มชั้นเรียนพิลาทีสให้สมาชิกได้เล่น แม้พิลาทีสจะยังค่อนข้างใหม่ในเมืองไทย แต่ในต่างประเทศโดยเฉพาะทางยุโรป อเมริกา หรือออสเตรเลียนั้นนิยมมาก จนถึงกับมีการจัดตั้งสถาบันฝึกสอนพิลาทีสกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวมากมาย หลายสำนัก เพื่อฝึกนักพิลาทีสมืออาชีพไปเป็นครู หรือสอนให้กับประชาชนทั่วไปที่สนใจ


พิลาทีสถือเป็นการบริหารร่าง กายที่มีความปลอดภัยสูงเพราะมีการกระทบกระแทกน้อย การเคลื่อนไหวท่าทางต่างๆ เน้นความนุ่มนวล ต่อเนื่อง ลื่นไหลอย่างเป็นธรรมชาติ ท่าทางออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการบริหารร่างกายทั้งระบบ การขยับเคลื่อนกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ นั้นจะต้องผสานกับการหายใจเป็นจังหวะตามที่กำหนด หากเปรียบเทียบกับโยคะของอินเดีย หรือไทชิของจีน พิลาทีสก็เป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งของซีกโลกตะวันตกที่มีหลักการไม่ไกลกันเท่า ไหร่ บางทีเราอาจเคยได้ยินชื่อพิลาทีสไปผสมผสานกับศาสตร์อื่นๆ อย่างเช่น โยคะ แผลงเป็นศัพท์ใหม่ Yogalates หรือ Yogilates หรือบางทีก็นำไปดัดแปลงผสมผสานกับท่าการบริหารบนลูกบอลยักษ์ (Fit Ball) เป็นต้น

โดยหลักของพิลาทีสเน้นให้ศูนย์พลังบริเวณจุดกึ่งกลางของ ร่างกาย (ตำแหน่งประมาณช่องท้อง) เป็นตัวควบคุมการเคลื่อนไหวต่างๆ (ศัพท์เทคนิคเรียกว่า Power Home) ซึ่งเชื่อว่าร่างกายคนเรามีพลังภายในที่ปกติจะไม่ค่อยได้ใช้ นอกจากเวลาเกิดเหตุสุดวิสัย อย่างเช่น เวลาเดินแล้วเกิดอุบัติเหตุข้อเท้าพลิก เราจะรีบพลิกมันกลับโดยอัตโนมัติตามสัญชาติญาณ จะใช้พลังจากส่วน Power Home นี้ ดังนั้นการฝึกพิลาทีส จึงเป็นการฝึกฝนเพื่อดึงพลังในส่วนนี้มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันให้มาก ขึ้น โดยอาศัยความตั้งใจและสมาธิเข้าช่วย ซึ่งในที่สุดแล้วจะทำให้การเดิน วิ่ง เคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการฝึกจิตใจให้สงบไปในตัว
พิลาทีสถูกออกแบบมาให้ต่างจาก การบริหารเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบอื่นๆ คือ ในท่าบริหารกล้ามเนื้อที่ทำกันทั่วๆ ไปจะเน้นการออกแรงต่อแรงต้านเพื่อสร้างกล้ามเนื้อเป็นส่วนๆ เช่น ยกน้ำหนักเพื่อสร้างกล้ามเนื้อต้นแขน กล้ามเนื้อหลัง ฯลฯ ซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อมัดสั้นๆ หากบริหารไม่ถูกต้องก็มีโอกาสเสียสมดุล และมีแนวโน้มที่จะทำให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บได้ ในขณะที่พิลาทีสจะมุ่งเน้นการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้พลังจาก ภายในร่างกายออกสู่ภายนอก โดยให้ผู้เล่นพุ่งความสนใจไปที่หน้าท้องตรงกึ่งกลางของร่างกาย ทำใจให้สงบ มั่นคง แล้วเกร็งกำลัง ยก เหยียด ยืดตัว แขน ขา ตามท่าต่างๆ ที่กำหนด




ทำ ช้าๆ ตั้งสมาธิคอยควบคุมการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ อย่างมีเสถียรภาพ พร้อมกับการหายใจเข้าและหายใจออกเป็นจังหวะ ท่าฝึกเหล่านี้จะมุ่งเน้นการฝึกความยืดหยุ่นไปพร้อมๆ กับสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อแต่ละส่วนของร่างกาย (multi-muscle exercise technique) โดยแบ่งท่าบริหารออกเป็น 2 กลุ่ม คือ การเล่นบนเบาะหรือแผ่นรองพื้น และเล่นกับอุปกรณ์ หรือบางสำนักอาจแบ่งประเภทของพิลาทีสเป็นท่าบริหารเพื่อการผ่อนคลาย (Relaxation work) และท่าเพื่อการเสริมสร้างความแข็งแรง (Strength work) ก็ได้ จึงให้ผลดีสำหรับนักกีฬาที่ต้องการฝึกกล้ามเนื้อให้ มีการยืดหยุ่น นักเต้น คนที่ชอบออกกำลังกาย หรือบริหารร่างกายเป็นประจำ ทั้งยังเหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ คนที่กำลังเข้ารับการบำบัดด้านกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบประสาท ซึ่งคนที่มีปัญหาด้านร่างกายควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะ สมก่อนการเริ่มฝึก




ท่าฝึกของพิลาทีสนี้มีประมาณ 23-40 ท่า แล้วแต่หลักสูตรของแต่ละสำนักที่แตกแขนงสาขาออกมาจะกำหนดขึ้น แต่ละท่ามีระดับความยาก-ง่ายแตกต่างกัน จากขั้นพื้นฐานไปถึงขั้นสูง ท่าหลักๆ ส่วนใหญ่จะเรียกชื่อตรงกันทุกสำนัก เช่น ท่าขั้นพื้นฐานสำหรับคนเริ่มฝึกอย่างท่า One hundred (100) , Double legs stretch , Roll up ซึ่งจะเป็นท่าไม่ซับซ้อน อาศัยการเกร็งหน้าท้องแล้วยืดเหยียดยกขา-แขน เมื่อฝึกจนชำนาญพอสมควรแล้วจึงค่อยขยับมาฝึกท่าที่ยากขึ้น หรือท่าที่ต้องอาศัยเทคนิคบางประการ ซึ่งควรจะมีครูฝึกคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะ อาจเป็นอันตรายได้หากฝึกไม่ถูกวิธี อย่างท่าที่ต้องยกตัว ยกหลังสูง เช่น ท่า Roll over , Scissors hips up เป็นต้น ซึ่งผู้ฝึกจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการยกและวางตัวอย่างปลอดภัย ดังนั้นครูฝึกที่เชี่ยวชาญจะเป็นคนพิจารณาเห็นควรว่าคนไหนควรเลือกฝึกท่าไหน ตามสรีระหรือความพร้อมของคนๆ นั้น ในแต่ละสำนักที่ได้รับการถ่ายทอดพิลาทีสต่อๆ กันมาก็อาจมีการดัดแปลงท่าทางผิดเพี้ยนกันไปบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่คงไว้ซึ่งหลักการเดียวกัน

ท่าบริหารร่างกายง่ายๆๆ ด้วยโยคะและพิลาทิส







ท่า1:  Bridge หรือท่าสะพาน
1. นอนหงายบนพื้น
2. ชันเข่าขึ้นมาโดยให้ปลายเท้าชี้ตรง แล้วส้นเท้าทั้งสองข้างขนานกัน 
3. ยกสะโพกขึ้นเหมือนจะให้แตะเพดาน 
4. ประสานมือทั้งสองเป็นกำปั้นไว้ที่พื้นใต้สะโพก
5. จากนั้นให้พงกศรีษะขึ้นจากพื้นเล็กน้อยไปที่บริเวณหน้าอก แต่ไม่ต้องยกสูงจนเกินไปนะคะ แบบว่าให้สมมุติว่ามีผลส้มระหว่างคางกะหน้าอกเราอะคะ
6. ที่สำคัญคือ ให้เราเกรงเข่าคล้ายกับว่าเราหนีบกล่องๆหนึ่งไว้ระหว่างเข่าทั้งสอง แต่ไม่ได้ให้เข่าทั้งสองมาแตะกัน


            ระยะเวลาค้างท่าก้อง่ายๆๆคะ หายใจเข้าหายใจออกลึกๆๆช้าๆๆ ซักห้าครั้งคะ อย่ากลั้นลมหายใจ เพราะการหายใจลึกๆเวลาเล่นโยคะ ทั่นผู้รู้กูรูทั้งหลายเค้าบอกว่าเป็นการดีท็อกซ์ที่ดีนักแล สำหรับคนเล่นใหม่ๆจะรู้สึกว่าขาพริ้ว สั่น ถือว่าเป็นอาการที่ดีคะ เพราะกล้ามเนื้อน่องส่วนบนได้ถูกใช้งาน
อะ ได้ท่าบริหารขาส่วนบนแล้ว ก้อมาถึงการบริหารแขนของเรากันบ้าง

ท่า2: Chaturanga
ท่านี้คล้ายๆๆการวิดพื้นคะ เป็นท่าหนึ่งในการไหว้พระอาทิตย์ ไม่ต้องกลัวว่ากล้ามแขนจะขึ้นจนกลายเป็นปล้องมะขามนะคะ เพราะกล้ามเนื้อจากการเล่นโยคะเป็นกล้ามเนื้อที่ร่ายกายเราสร้างมาเอง ไม่ได้เกิดจากการใช้เครื่องเล่นเพื่อการสร้างกล้ามเนื้อตามฟิตเนส รับรองว่าไม่บึ้ก
1. เตรียมตั้งท่าแบบจะวิดพื้นคะ โดยการเกรง(ขมิบ)ก้น ให้หลังเป็นเส้นตรงนะคะ อย่าแอ่นหลัง และแอ่นข้อศอก
2. นิ้วมือทั้งห้าวางแนบแน่นที่พื้น ปลายนิ้วชี้นิ้วกลางชี้ตรงไปข้างหน้าเลย
3. ส่วนขาทั้งสองเหยียดตรงนะคะ จิ๊กนิ้วเท้าทั้งสิบที่พื้นให้มั่นคงเลย
4. จากนั้นหายใจออกช้าๆๆ ลดตัวลงโดยบีบแขนทั้งสองเข้าที่ตัวเราคะ ลดลงให้ตัวขนานกับพื้นแล้วค้างไว้ให้ห่างจากพื้นสามถึงสี่นิ้ว
5. ค่อยๆๆหายใจเข้าแล้วเหยียดแขนให้ตรงเลยคะ  ทำซ้ำไปซักห้าครั้ง


ข้อสำคัญคือ อย่าลืมหายใจเข้าหายใจออกให้ลึกสุดๆๆไปเลย รับรองเลือดลมหมุนเวียน
อ้อ แล้วยิ่งทาเจลร้อนแล้วทำท่าโยคะนะคะ ร่างกายเราจะยิ่งร้อน การเผาผลาญยิ่งทำงานดีเป็นทวีคูณเลยคะ เพราะลองเองมาแล้ว ได้ผลมาแล้ว นอกจากน่องจะเล็กลงแล้ว ยังรู้สึกว่าผิวบริเวณที่ทาเรียบเนียนขึ้นด้วยคะ ลองดูนะคะ ของเค้าดีจิง แล้วพบกันใหม่คะ


หัวใจของการฝึกพิลาทิส




ก่อนจะบริหารร่างกายแบบพิลาทีส ผู้ฝึกควรเข้าใจหลักการ 8 ข้อต่อไปนี้ที่เป็นหัวใจของการฝึก ได้แก่

   1. Concentration – การมีสมาธิจดจ่ออยู่กับท่าทางที่จะต้องทำในแต่ละขั้นตอน และปิดกั้นความคิดอื่นๆ ที่หลงเข้ามาในสมอง ทำให้จิตใจสงบ
   2. Breath – หายใจเข้ายาวๆ แล้วหายใจออกให้สุดโดยไม่ต้องกลั้นเก็บไว้ หายใจไหลเรื่อยสม่ำเสมอเช่นเดียวกับการหายใจในชีวิตประจำวัน แต่เกร็งกล้ามเนื้อท้องเข้าช่วยบังคับให้ท้องแบนราบทั้งเวลาหายใจเข้าและออก (หลักการต่างจากโยคะที่เวลาหายใจเข้าท้องต้องป่อง) นอกจากจะได้ฝึกหายใจอย่างเต็มอิ่มแล้ว ยังเป็นวิธีที่ช่วยฟิตหน้าท้องไปด้วยในตัว
   3. Centering – การรวมสมาธิไปที่จุดศูนย์กลางของร่างกายบริเวณหน้าท้อง (Power Home) การเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องสำหรับบังคับท่าบริหารทุกๆ ท่าของทุกๆ ส่วน ทำให้ร่างกายทำงานเป็นหน่วยเดียวกันเหมือนกับการควบคุมวงออร์เคสตร้า
   4. Control – การบังคับให้ร่างกายให้ทำงานต้านกับแรงโน้มถ่วงโลก เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย ยิ่งเคลื่อนไหวร่างกายช้าๆ ต้านแรงโน้มถ่วงเท่าไหร่ยิ่งได้ความแข็งแรงมากขึ้น
   5. Precision – การวางมือ เท้า หรือท่าทางเริ่มต้นในตำแหน่งที่ถูกต้องจะช่วยควบคุมการเคลื่อนไหว และความต่อเนื่องของการบริหารได้ดี
   6. Flowing Movement – การเคลื่อนไหวจากท่าหนึ่งไปสู่อีกท่าหนึ่งต้องทำอย่างต่อเนื่อง เหมือนวงล้อที่หมุนด้วยความเร็วสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาการเคลื่อนไหว
   7. Isolation – การฝึกพิลาทีสจะเป็นความท้าทายเฉพาะตัวของแต่ละคนที่มีสภาพร่างกายแตกต่าง กันไปคนละแบบ การศึกษาเทคนิคที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ฝึกเรียนรู้โครงสร้างร่างกายของตนเอง และสามารถแยกการควบคุมการทำงานของกลุ่มกล้ามเนื้อในแต่ละส่วนได้ดียิ่งขึ้น
   8. Routine – การทำซ้ำๆ สม่ำเสมอ จะยิ่งเพิ่มระดับความเชี่ยวชาญให้กับผู้ฝึก สามารถพัฒนาไปสู่ท่าที่ยากขึ้นได้ในระยะเวลาไม่นาน




ผลดีจากการฝึกพิลาทีสอย่างสม่ำเสมอ

การ ฝึกพิลาทีสเป็นประจำสม่ำเสมอ ติดต่อกันจะมีผลดีต่อร่างกาย ช่วยยืดกล้ามเนื้อ และสลายไขมัน ทำให้กล้ามเนื้อฟิตและเฟิร์มยิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นการฝึกใช้จิตใจช่วยควบคุมการทำงานของร่างกาย ฝึกการทำงานประสานกันของอวัยวะส่วนต่างๆ สร้างความสมดุล เพิ่มความกระฉับกระเฉง คล่องตัว ยืดหยุ่น ความแข็งแรง เสริมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายทำให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยบริหารกระดูกสันหลัง พัฒนาบุคลิกภาพ การวางท่าทาง บรรเทาความปวดเมื่อย ฝึกการหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเครียด ทำให้จิตใจแจ่มใส และที่สำคัญพิลาทีสเป็นการออกกำลังกายที่ท้าทายผู้เล่น แต่ปลอดภัยสูง ลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ เพราะร่างกายได้ฝึกความยืดหยุ่นของร่างกายอยู่ตลอดเวลา

คนที่ฝึก พิลาทีสจะเห็นผลกับร่างกายได้ช้าหรือเร็วแตกต่างกันในแต่ละคน คนที่ฝึกได้ผลดีต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอ อย่างน้อยประมาณ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หากทำได้อย่างนี้แล้วก็จะเริ่มเห็นผลดีต่อร่างกายภายหลังการฝึกประมาณ 15-20 ครั้ง พิลาทีสจัดเป็นโปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อและกระดูกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่การบริหารเพื่อการเต้นของหัวใจ ดังนั้นคนฝึกสามารถฝึกพิลาทีสควบคู่ไปการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดิน เต้นแอโรบิค หรือว่ายน้ำ รวมทั้งหากในคนที่ต้องการลดน้ำหนักด้วยแล้วล่ะก็ ยิ่งไม่ควรละเลยการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการด้วย


สำหรับ คนที่อยากฝึกพิลาทีส คงต้องเลือกสรรหาที่เรียนที่มีมาตรฐานน่าเชื่อถือ มีครูฝึกที่เชี่ยวชาญสอบผ่านมาตรฐานรับรองจากสถาบันฝึกสอนพิลาทีสโดยเฉพาะ ที่ตรวจสอบได้ และถ้าจะให้ดีก็ควรเลือกเรียนในชั้นเรียนที่มีคนน้อยๆ (ไม่ควรเกิน 10 คน / ชั้นเรียนท่าฝึกบนพื้นเบาะ หรือ 3 คน / ครูฝึก 1 คนสำหรับท่าที่ใช้เครื่องมือ) เพื่อให้ครูฝึกมีโอกาสดูแลได้อย่างทั่วถึง เพราะการปฏิบัติท่าทางต่างๆ หากทำไม่ถูกวิธีมีโอกาสทำให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บได้เหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์กับตัวของคุณเอง